วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555
วันแม่
ประวัติวันแม่แห่งชาติ

โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมา พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มใน ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่

พันธุ์ดอกมะลิ
- มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว
- มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
- มะลิถอด ลักษณะ โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น
- มะลิซ้อน ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น
- มะลิพิกุล หรือ มะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ
เพลงที่ใช้ในวันเเม่
ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน
otop สุรินทร์



ประวัติความเป็นมา |
![]() |
- กระบวนการขั้นตอนการผลิต |
![]() |
-จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ |
![]() |
-ปริมาณการผลิต |
![]() |
-ราคา |
![]() |
-สถานที่จำหน่าย |
![]()
25 หมู่ 6 ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 0-1967-6485
|
-สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ |
![]() |



ประวัติความเป็นมา |
ผ้า ยกทอง คือ ผ้าที่ทอยกลวดลายให้สูงกว่าพื้นผ้า โดยจะมีเส้นยืนและเส้นพุ่งขัดสานกันตามปกติ และมีเส้นพุ่งพิเศษไประหว่างเส้นยืน จึงจะปรากฏลวดลายขึ้นมา ในอดีต ผ้ายกทองเป็นผ้าที่บุคคลระดับสูง ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ษานุวงศ์มักใช้นุ่งภายในราชสำนักตั้งแต่สมัยสุโขทัยอยุธยา แต่สำหรับเหล่าขุนนางนั้น จะมีสิทธินุ่งได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น |
กระบวนการขั้นตอนการผลิต |
ออก แบบลาย ใช้เทคนิคการทอแบบผ้ายกโบราณ ที่มีความยากในเรื่องของลาย ต้องมีการเก็บลาย ซึ่งต้องใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษ ที่ทำให้เกิดลายซึ่งมีตะกอมาก หากวางบนพื้น มีความยาว 2-3 เมตร จึงขุดหลุมลงไป เพื่อรองรับความยาวของตะกอลายที่ห้อยลงมาจากกี่ทอผ้า เพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย และกี่หนึ่งต้องใช้คนทอประมาณ 4 คน ทอได้ประมาณ 5-6 ซม./วัน |
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ |
เป็น ผ้ายกทองชั้นสูง เป็นลายแบบราชสำนักไทยโบราณ เช่น ครุฑยุดนาค ลายหิ่งห้อยชมสวน ลายย่อมุมไม้สิบสอง ลายกรวยหอก ความโดดเด่นเป็นผ้าทอมือที่งามวิจิตรพิสดาร ตั้งแต่ตะกอลาย 350 ตะกอ ถึง 1.418 ตะกอ |
ปริมาณการผลิต |
3 เดือน/ 1 ผืน |
ราคา |
80,000 บาท ถึงหลักแสนบาท |
สถานที่จำหน่าย |
![]()
- 150 หมู่ 1 ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 0-1726-0397
- 150 หมู่1 ท่าแสวง เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
|
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ |
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสุรินทร์ |
งานช้างจังหวัดสุรินทร์2555Surin Elephant Round-Up 2012
วันนี้ขอนอกเรื่องแล้วกันนะค่ะ มาดูงานช้างจังหวัดสุรินทร์ 2555 Surin Elephant Round-Up 2012ปีนี้ได้จัดในวันที่ 14 - 25 พฤษจิกายน 2555
ว้าวจะถึงแล้ว
มาดูประวัติการเป็นของงานช้างจังหวัดสุรินทร์Surin Elephant Round-Up
บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์
ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี
เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว "กวย" หรือ "ส่วย"
นิยมเลี้ยงช้างมาแต่โบราณกลาล เพื่อนำไปใช้ในและพิธีต่าง ๆ
โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ
58 กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก
จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของ "หมู่บ้านช้าง"
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้าง วิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนโดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดงและนำนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาชมการแสดง
ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่อง เที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และได้กำหนดจัดงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้าง วิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนโดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดงและนำนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาชมการแสดง
ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่อง เที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และได้กำหนดจัดงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
ขอบคุณภาพจาก http://surin108.com/
จังหวัดสุรินทร์
เตรียมจัดงานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ประจำปี 2555
อย่างยิ่งใหญ่คาดว่าจะมีช้างเข้าร่วมกว่า 300 เชือก
วันที่ 17 สิงหาคม
2555 ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ นายพิภพ ดำทองสุข
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานประชุมเตรียมการจัดงาน
ต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้างสุรินทร์ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16
พฤศจิกายน 2555 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
เพื่อเลี้ยงต้อนรับช้างเข้าเมืองกว่า 300
เชือกที่มาร่วมแสดงงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์
และเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์การจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์
ประจำปี 2555 ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สำหรับการจัดงาน
"ต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้างสุรินทร์” ได้จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2543
และได้จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเทศกาลงานประเพณี
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นทีรู้จักของคนทั่วโลก
ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์
โดยมีกิจกรรมภายในงานที่ความหลากหลาย ดังนี้ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
จะมีการการจัดประกวดขบวนรถอาหารช้างเคลื่อนที่ ของหน่วยงานต่างๆ
ที่ตระการตาไปด้วยผักผลไม้ที่นำมาประดับตกแต่งขบวนรถอย่างอลังการ วันที่ 16
พฤศจิกายน 2555 การจัดขบวนแห่ต้อนรับช้างเข้าเมือง มีช้างจำนวนกว่า 300
เชือก ร่วมขบวนอย่างยิ่งใหญ่ และจะมีการเลี้ยงโต๊ะอาหารช้างความยาวกว่า 400
เมตร น้ำหนักอาหารกว่า 50 ตัน ซึ่งมีการบันทึกในกินเนสบุ๊ค เรคคอร์ด
(Guinness Word Record) เมื่อปี 2546
ว่าเป็นการเลี้ยงบุฟเฟต์อาหารช้างที่ยิ่งใหญ่และยาวที่สุดในโลก นอกจากนี้
ยังมี กิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น การประกวดสาวงามเมืองช้าง
การประกวดช้างสุขภาพดี ประกวดวาดภาพช้าง การประกวดเรียงความ
และการแข่งขันหนุ่มสาวพลังช้าง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า
เพื่อป้องกันปัญหาช้างตกมัน และช้างทำร้ายนักท่องเที่ยว
จังหวัดสุรินทร์ได้มอบหมายให้ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์
จัดการซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรับมือกรณีเกิดเหตุช้างตกมัน หรือช้างทำร้ายร่างนักท่องเที่ยว
โดยจะคัดเลือกช้างที่มีนิสัยดีมาร่วมงาน
เพื่อให้การจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี 2555
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยิ่งใหญ่
และสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวทุกคน ///////// ประนนท์ ไม้หอม / ข่าว/ส.ปชส. สุริทร์ |
||||
|
||||
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)